ชื่อพายุ (I) ความหมาย ประเทศที่มา
Damrey ดอมเรย ช้าง กัมพูชา
Haikui ไห่คุ้ย - สาธารณรัฐประชาชนจีน
Kirogi ไคโรจิ ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วง และอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Kai-tak ไคตั๊ก ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Tembin เทมบิง ราศีตุล ตาชั่ง ญี่ปุ่น
Bolaven โบลาเวน ที่ราบสูง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Sanba SAN-BA ชื่อสถานที่ในมาเก๊า Place name in Macoa มาเก๊า
Jelawat เจอลาวัต ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
Ewiniar เอวิเนียร์ ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซีย
Mariksi MA-LIK-SI คำคุณศัพท์ในภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์(?)มีความหมายว่า"รวดเร็ว" Filipino adjective which means fast ฟิลิปปินส์
Gaemi เกมี มด สาธารณรัฐเกาหลี
Prapiroon พระพิรุณ ฃื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทย
Maria มาเรีย ชื่อผู้หญิง [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทราแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Son Tinh SON-TING เทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม (God of Mountain in Vietnamese myth) เวียดนาม
Bopha โบพา ชื่อดอกไม้ / ชื่อเด็กหญิง กัมพูชา
Wukong หวู่คง ชื่อวีรบุรุษในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Sonamu โซนามุ ต้นส้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Shanshan ซานซาน ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Yagi ยางิ ราศีมังกร แพะ ญี่ปุ่น
Leepi LEE-PI น้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของประเทศลาว(The most beautiful waterfall in the end of Southern of Lao) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Bebinca เบบินคา ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊า
Rumbia รุมเบีย ต้นปาล์ม มาเลเซีย
Soulik ซูลิก ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป (Pohnpei) ไมโครนีเซีย
Cimaron ซิมารอน วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
Jebi เชบี นกนางแอ่น สาธารณรัฐเกาหลี
Mangkhut มังคุด MUNG-KUUT ชื่อผลไม้ ไทย
Utor อูตอร์ แนวพายุฝนฟ้าคะนอง [ภาษาพื้นเมืองหมู่ชาวเกาะมาร์แชลล์ (Marshall)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Trami จ่ามี ชื่อดอกไม้ เวียดนาม
Kong-rey กองเรย ชื่อสาวงามในตำนานเขมร ชื่อภูเขา กัมพูชา
Yutu ยู่ทู่ กระต่ายในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Toraji โทราจิ ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Man-yi มานหยี่ ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Usagi อุซางิ กระต่าย ญี่ปุ่น
Pabuk ปาบึก (ปลาบึก) ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Wutip หวู่ติ๊บ ผีเสื้อ มาเก๊า
Sepat เซอปัต ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซีย
Fitow ฟิโทว์ ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม [ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป ( Yap) ] ไมโครนีเซีย
Danas ดานัส ประสบการณ์และความรู้สึก ฟิลิปปินส์
Nari นารี ดอกไม้ สาธารณรัฐเกาหลี
Wipha วิภา ชื่อผู้หญิง ไทย
Francisco ฟรานซิสโก ชื่อผู้ชาย [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Lekima เลกีมา ชื่อผลไม้ เวียดนาม
Krosa กรอซา ปั้นจั่น กัมพูชา
Haiyan ไห่เยี่ยน ชื่อนกทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีน
Podul โพดอล ต้นหลิว ต้นไม้ที่มักพบในตัวเมืองและชนบทของเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Lingling เหล่งเหลง ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kajiki คะจิกิ ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ ญี่ปุ่น
Faxai ฟ้าใส ชื่อผู้หญิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
PEIPAH เพผ่า ชื่อปลาสวยงาม (แทน Vamei) มาเก๊า
(Vamei) (ฮัวเหม่ย) นกชนิดหนึ่งมีเสียงร้องไพเราะ
Tapah ตาปาห์ ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
Mitag มิแทก ชื่อผู้หญิง {ภาษาพื้นเมืองของเกาะในประเทศไมโครนีเชีย} ไมโครนีเซีย
Hagibis ฮากิบิส รวดเร็ว ว่องไว ฟิลิปปินส์
Neoguri โนกูรี สนุขพันธุ์ราคูน สาธารณรัฐเกาหลี
Rammasun รามสูร ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทย
Chataan ชาทาอาน ฝน [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Halong หะลอง ชื่ออ่าวสวยงามในเวียดนาม เวียดนาม
Nakri นากรี ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
Fengshen ฟงเฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งลม สาธารณรัฐประชาชนจีน
Kalmaegi คัลเมจิ นกนางนวล ( สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Fung-wong ฟองวอง ชื่อยอดเขา ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kammuri คัมมุริ มงกุฎ ญี่ปุ่น
Phanfone พันฝน สัตว์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Vongfong หว่องฟง ชื่อแมลง มาเก๊า
Rusa รูซา กวาง มาเลเซีย
Sinlaku ซินลากอ ชื่อเทพธิดาในนิยาย ไมโครนีเซีย
Hagupit ฮากุปิต เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์
Jangmi ชังมี กุหลาบ สาธารณรัฐเกาหลี
Mekkhala เมขลา ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทย
Higos ฮีโกส ชื่อพืชชนิดหนึ่ง [ภาษาพื้นเมืองหมู่เกาะมารีน่า(Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐเมริกา
Bavi บาหวี่ ชื่อภูเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนาม
Maysak ไม้สัก ชื่อต้นไม้ [ ภาษาพื้นเมืองชองหมู่เกาะมารีนา (Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] กัมพูชา
Haishen ไห่เฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีน
Pongsona พงโซนา ชื่อดอกไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Yanyan ยันยัน ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kujira คุจิระ ปลาวาฬ ญี่ปุ่น
Chan-hom จันหอม (จันทน์หอม) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Linfa หลิ่นฟ้า ดอกบัว มาเก๊า
Nangka นังกา ชื่อผลไม้ มาเลเซีย
Soudelor เซาเดโลร์ ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป( Pohnpei) ไมโครนีเซีย
Imbudo อิมบุโด พายุงวงช้าง ฟิลิปปินส์
Goni โคนี หงส์ซึ่งส่งเสียงร้อง สาธารณรัฐเกาหลี
Morakot มรกต มรกต ไทย
Etau เอตาว เมฆพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกา
Vamco หว่ามก๋อ ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนาม
Krovann กรอวาญ ชื่อต้นไม้ กัมพูชา
(กระวาน)
Dujuan ตู้เจี้ยน ชื่อไม้ดอก สาธารณรัฐประชาชนจีน
Maemi เมมิ สัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมักส่งเสียงร้องในฤดูร้อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
เมื่อเวลาเกิดพายุไต้ฝุ่นเข้าสู่ประเทศเกาหลี
Choi-wan ฉอยหวั่น เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Koppu คอบปุ ปล่องภูเขาไฟ, หลุม หรือแก้ว ญี่ปุ่น
Kitsana กิสนา (กฤษณา) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Parma ป้าหม่า อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยเนื้อสะโพก ตับ และเห็ด มาเก๊า
Melor เมอโลร์ ดอกมะลิ มาเลเซีย
Nepartak เนพาร์ตัก นักรบผู้มีชื่อเสียง ไมโครนีเซีย
Lupit ลูปีต ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์
Sudal ซูแดล นาก สาธารณรัฐเกาหลี
Nida นิดา ชื่อผู้หญิง ไทย
Omais โอไมส์ การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกา
Conson โกนเซิน ชื่อโบราณสถาน เวียดนาม
Chanthu จันทู ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
Dianmu เตี้ยนหมู่ เจ้าแม่สายอสุนี สาธารณรัฐประชาชนจีน
Mindulle มินดอนเล ดอกไม้เล็ก ๆสีเหลืองบานในฤดูใบไม่ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Tingting เถ่งเถง ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kompasu คอมปาซุ วงเวียน ญี่ปุ่น
Namtheun น้ำเทิน ชื่อแม่น้ำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Malou หม่าโหล หินโมรา มาเก๊า
Meranti เมอรันตี ชื่อต้นไม้ มาเลเซีย
Rananim รานานิม คำสวัสดี [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซีย
Malakas มาลากัส แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์
Megi เมกี ปลา สาธารณรัฐเกาหลี
Chaba ชบา ดอกชบา (ดอกไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง) ไทย
Aere แอรี สหรัฐอเมริกา
Songda ซงด่า ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เวียดนาม
Sarika สาลิกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชา
Haima ไหหม่า ม้าน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีน
Meari มิอะริ เสียงสะท้อน(หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
ก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก)
Ma-on หมาง้อน อานม้า ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Tokage โทะคาเงะ สัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก ญี่ปุ่น
Nock-ten นกเตน (นกกระเต็น) ชื่อนก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Muifa หมุ่ยฟ้า ดอกพลัมบาน มาเก๊า
Merbok เมอร์บุก ชื่อนก มาเลเซีย
Namadol นันมาดอล โบราณสถานที่มีชื่อเสียงของโปนเป (Pohnpei) หรือ เวนิชแห่งแปซิฟิก ไมโครนีเซีย
Talas ตาลัส แหลมคม ฟิลิปปินส์
Noru โนรู กวาง สาธารณรัฐเกาหลี
Kulap กุหลาบ ชื่อดอกไม้ ไทย
Roke โรคี ชื่อผู้ชาย [ในภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Sonca เซินกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนาม
Nesat เนสาด ชาวประมง กัมพูชา
Haitang ไห่ถาง ชื่อผลไม้ของจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Nalgae นาลแก ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Banyan บันยัน ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Washi วาชิ ชื่อหมู่ดาว นกอินทรีย์ ญี่ปุ่น
Matsa มัดสา (มัศยา,มัตสยา,มัสยา) ปลาตัวเมีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Sanvu ซันหวู่ หินปะการัง มาเก๊า
Mawar มาวาร์ กุหลาบ มาเลเซีย
Guchol กูโชล เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ไมโครนีเซีย
Talim ตาลิม แหลมคม หรือ ด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์
Nabi นาบี ผีเสื้อ สาธารณรัฐเกาหลี
Khanun ขนุน ชื่อผลไม้ ไทย
Vicente วีเซนเต เมฆ [ภาษาชามาร์โร Chamarro)] สหรัฐอเมริกา
Saola ซาวลา สัตว์ชนิดหนึ่ง ค้นพบในเวียดนาม เวียดนาม
มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (จากการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 40 ณ ประเทศมาเก๊า ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน 2550 )
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=28
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่)
ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ
แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์
มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?
กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)
ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?
ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ
ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?
ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)
ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?
ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี
ปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?
ในศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ 3 % ในบริเวณกึ่งเขตร้อน
ส่วนระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปี
ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?
ในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU
หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้
ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535
ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอากาศ
วันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบัน
ต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวน 9 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2546 ดังนี้
COP-1
เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538
COP-2
จัดขึ้นที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
COP-3
จัดขึ้นที่ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540
COP-4
จัดขึ้นที่ บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 2 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
COP-5
จัดขึ้นที่ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
COP-6
จัดขึ้น กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
COP-7
จัดขึ้นที่ มาราเก็ช ประเทศโมรอคโค ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
COP-8
จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
COP-9
จัดขึ้นที่ มิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86
ก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. บารอมิเตอร์
ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์
2. ข้อใด ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นลูกศรยาว มีแพนหางตั้งตรง เป็นตัวบังคับให้ปลายศรลมชี้ไปในทิศทางที่ลมพัดเข้ามา โดยที่แกนของศรลมหมุนไปโดยรอบ
ก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. ศรลม ( Wind vane )
ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์
3.ข้อใด เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ โดยจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ภาพนี้คือ
ก. ภาพแสดงการเกิดลม ข. ภาพแสดงการลมบกลมทะเล
ค. ภาพแสดงการวัดความชื้น ง.ภาพแสดงการวัดความกดดัน
4. ลมข้อใด เกิดขึ้นในตอนกลางวัน เนื่องจากอุณหภูมิของพื้นน้ำที่ได้รับจากดวงอาทิตย์สูงขึ้นช้ากว่าพื้นดิน ทำให้อากาศที่อยู่ใกล้พื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศที่อยู่ใกล้พื้นน้ำ
ก. ลมทะเล ( Sea breeze ) ข.ลมบก ( Land breeze )
ค. ลมหุบเขา ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
5.จากรูปนี้หมายถึงนักอุตุนิยมวิทยา นิยมใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความกดอากาศ ณ ตำแหน่งต่างๆ ที่ระดับน้ำทะเลซึ่งตรวจวัดได้จากสถานีตรวจอากาศต่างๆ บันทึกลงในข้อใดที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของลมที่พัดผ่านส่วนต่างๆ ของโลก
ก.เส้นไอโซบาร์ ( Isobar ) ข.ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. แผนที่อากาศ (Weather map) ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ภาคเหนือ
มีหมอกในตอนเช้า กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทางตอนบนของภาค: อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศา ส่วนทางตอนล่างของภาค: อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศา บริเวณยอดดอย: อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศา ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย อุดรธานี นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง
อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีเมฆบางส่วน ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ที่มา http://www.tmd.go.th/daily_forecast.php
ตรุษจีน ปี2553 ทุกราศีควรไปไหว้ เทพเจ้าเสริมดวงชะตา ดังนี้
ปีชวด(หนู)
ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ซำกวง” หรือ “เทพ 3 ตา” วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กรุงเทพ
ปีฉลู(วัว)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพหั่วท้อ” หรือ “หมออูโต๋ว” (หมดเทวดา) ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.
ปีขาล(เสือ)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)
ปีเถาะ(กระต่าย)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเจ้าไท้เอี๊ยง” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่
มังกรกมลาวาส หรือ วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.
ปีมะโรง(งูใหญ่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเทียงเต็ก” ไหว้ฟ้าดิน หรือไหว้ที่เสาทีกง
ได้ทุกศาลเจ้า
ปีมะเส็ง(งูเล็ก)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกร
กมลาวาส(ทำแก้ชง)
“องค์ไท้อิม” ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.
ปีมะเมีย(ม้า)
ให้ไปไหว้ขอพร “องค์เจี้ยงแซ” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้า
กวนตี่ เยาวราช
หรือที่ไหนก็ได้ที่มี
ปีมะแม(แพะ) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพห่วยเต็ก” ไหว้ “เจ้าแม่กวนอิม” ที่ มูลนิธิ
เทียนฟ้า เยาวราช หรือทุกศาลเจ้าที่มี
ปีวอก(ลิง) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(
ทำแก้ชง)
ปีระกา(ไก่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเหล่งเต็ก” ไหว้ “องค์แป๊ะกง” ได้ทุกศาลเจ้าที่
มีแป๊ะกง
ปีจอ(หมา) ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ตั่วเหล่าเอี๊ย” ได้ทุกศาลเจ้าที่มีเจ้าพ่อเสือ
ปีกุน(หมู) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส
(ทำแก้ชง)
"องค์กวนอู” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้ากวนตี่ เยาวราช หรือ ที่ไหนก็ได้
ที่มี
ถ้า ไม่สามารถไปไหว้เทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามที่แนะนำตามศาลเจ้าที่บอก
ได้ให้ดูตาม ศาลเจ้าหรือวัดใกล้บ้านที่มีเทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามปีเกิดของคุณ
แล้วขอพรจากองค์เทพนั้นโดยตรง โดยอธิฐานดังนี้
ข้าพเจ้า ขอกราบบูชาและต้อนรับ”.....(ชื่อเทพเจ้าที่เสริมดวงชะตา
ปี2553 ประจำปีเกิดของคุณ)” ซึ่งมาสถิตในเรือนชะตาของ ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล)
ด้วยความศรัทธายิ่งขอได้โปรดประทานพรให้ข้าพเจ้า ปราศจากอุปสรรค แคล้วคลาดจาก
ภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง พร้อมทั้งประทานความสำเร็จ ความสุขความเจริญ มีสิริ
มงคล สุขภาพแข็งแรง และโชคดีตลอดปี2553 แก่ข้าพเจ้า เทอญ...สาธุ
ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ
ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
วันไหว้ คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่
แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ
อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
ที่มา http://images.google.com/imgres?imgurl=http://www.lifepitlok.com/images_news/1263171994.jpg&imgrefurl=http://www.lifepitlok.com/&usg=__v00JW7HbMY26yWHUBo8_vLNbwHc=&h=300&w=450&sz=76&hl=th&start=2&sig2=955APENtaT-PZlKDNGThrw&um=1&itbs=1&tbnid=-7KlA1OqtfS57M:&tbnh=85&tbnw=127&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%2B2553%26hl%3Dth%26rls%3Dcom.microsoft:en-US%26sa%3DN%26um%3D1&ei=0HZ1S4jwNYPBrAeaseW8Cg
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)
ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)
ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 40% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)
ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 60% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจาย(Scattered)
ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)
ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 80% ของพื้นที่ ขึ้นไป หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนทั่วไป(Widespread)
ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)
ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร หมายถึงข้อใด
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)
ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไป
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)
ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตร
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)
ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตร
ก.ฝนหนัก(Heavy Rain) ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)
ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณนับไม่ได้
ก.ไม่มีฝนตก ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)