คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อจำกัดของการใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี คือข้อใด
ก.ใช้ทดสอบสารตัวอย่างปริมาณน้อยๆ ไม่ได้
ข.ใช้แยกองค์ประกอบต่างๆ ในของผสมที่ไม่มีสีออกจากกันไม่ได้
ค.องค์ประกอบต่างๆ ในของผสมที่เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เกือบเท่ากัน จะแยกจากกันไม่ได้
ง.ถ้าแยกองค์ประกอบต่างๆ ในของผสมออกจากกันได้แล้ว จะสกัดสารเหล่านั้นออกจากตัวดูดซับไม่ได้
2.เมื่อใช้โครมาโทกราฟีกระดาษแยกสีผสมออกจากกันโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ปรากฎว่ามีสี 3 ชนิดแยกออกจากกันเรียงตามลำดับจากจุดเริ่มต้นดังนี้ แดง เหลือง และเขียว แสดงว่า
ก.สีแดงมีมวลโมเลกุลสูงที่สุด จึงเคลื่อนที่ได้ช้า
ข.สีเขียวละลายน้ำได้มากกว่า จึงเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด
ค.สีแดงมีสมบัติเป็นตัวดูดซับ จึงเคลื่อนที่ได้ช้า
ง.สีเขียวละลายน้ำได้น้อยมาก จึงเคลื่อนที่มาพร้อมๆ กับน้ำ
3.สารละลายที่ไม่สามารถใช้วิธีการแยกโดยการระเหยได้คือข้อใด
ก.สารละลายน้ำตาล
ข.สารละลายเกลือแกง
ค.สารละลายแอลกอฮอล์
ง.สารละลายแคลเซียมคลอไรด์
4.การแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีอาศัยหลักการในเรื่องใด
ก.ความแตกต่างของการดูดซับ
ข.ความแตกต่างของสารในการละลาย
ค.ความแตกต่างของสารที่ใช้เป็นตัวทำละลาย
ง.ความแตกต่างของการละลายและการดูดซับ
5.ข้อใดไม่ใช่ความผิดพลาดในการแยกสารละลายด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
ก.การใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
ข.การหยดสารละลายเป็นจุดใหญ่เกินไป
ค.ความอิ่มตัวของระบบของตัวทำละลาย
ง.สารละลายที่ใช้ทดสอบมีความเข้มข้นเกินไป
1.ข้อจำกัดของการใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี คือข้อใด
ก.ใช้ทดสอบสารตัวอย่างปริมาณน้อยๆ ไม่ได้
ข.ใช้แยกองค์ประกอบต่างๆ ในของผสมที่ไม่มีสีออกจากกันไม่ได้
ค.องค์ประกอบต่างๆ ในของผสมที่เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เกือบเท่ากัน จะแยกจากกันไม่ได้
ง.ถ้าแยกองค์ประกอบต่างๆ ในของผสมออกจากกันได้แล้ว จะสกัดสารเหล่านั้นออกจากตัวดูดซับไม่ได้
2.เมื่อใช้โครมาโทกราฟีกระดาษแยกสีผสมออกจากกันโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ปรากฎว่ามีสี 3 ชนิดแยกออกจากกันเรียงตามลำดับจากจุดเริ่มต้นดังนี้ แดง เหลือง และเขียว แสดงว่า
ก.สีแดงมีมวลโมเลกุลสูงที่สุด จึงเคลื่อนที่ได้ช้า
ข.สีเขียวละลายน้ำได้มากกว่า จึงเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด
ค.สีแดงมีสมบัติเป็นตัวดูดซับ จึงเคลื่อนที่ได้ช้า
ง.สีเขียวละลายน้ำได้น้อยมาก จึงเคลื่อนที่มาพร้อมๆ กับน้ำ
3.สารละลายที่ไม่สามารถใช้วิธีการแยกโดยการระเหยได้คือข้อใด
ก.สารละลายน้ำตาล
ข.สารละลายเกลือแกง
ค.สารละลายแอลกอฮอล์
ง.สารละลายแคลเซียมคลอไรด์
4.การแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีอาศัยหลักการในเรื่องใด
ก.ความแตกต่างของการดูดซับ
ข.ความแตกต่างของสารในการละลาย
ค.ความแตกต่างของสารที่ใช้เป็นตัวทำละลาย
ง.ความแตกต่างของการละลายและการดูดซับ
5.ข้อใดไม่ใช่ความผิดพลาดในการแยกสารละลายด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
ก.การใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
ข.การหยดสารละลายเป็นจุดใหญ่เกินไป
ค.ความอิ่มตัวของระบบของตัวทำละลาย
ง.สารละลายที่ใช้ทดสอบมีความเข้มข้นเกินไป
การสร้างที่เก็บน้ำด้วยไม้ไผ่
เครื่องสานจากไม้ไผ่ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ตามสามารถทำ ให้เป็นภาชนะสำหรับเก็บน้ำได้ โดยการนำมาฉาบด้วย “ฟลิ้นโค้ท” ซึ่งเป็น สารผสมที่ทำมาจากยางมะตอยและสารยึดเหนี่ยวหลายชนิด เป็นของเหลว ที่แห้งเร็วมีคราบเหนียว ผสมน้ำได้ แต่เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ ทนน้ำและ ทนทานต่อความร้อน เย็น ไม่ละลายเมื่อถูกแดดเหมือนยางมะตอย และไม่ ผุกรอบเหมือนชัน จึงมีความทนทานและมีราคาถูก ส่วนเครื่องสานไม้ไผ่ ควรสานให้ทึบที่สุด เพื่อให้ฉาบฟลิ้นโค้ทได้ง่าย
วัสดุและอุปกรณ์
1. เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ
2. ฟลิ้นโค้ทชนิดผสมน้ำหาซื้อได้ตามร้านขายปุ๋ย ขายสีทาบ้าน หรือยาฆ่าแมลงหรือตามปั๊มน้ำมันเชลล์ทั่วไป
3. ผ้าฝ้ายเป็นผ้าเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือกระดาษสา ถ้าหาไม่ได้ก็ ใช้เศษกระดาษทั่วไปแทนก็ได้
4. แปรงสำหรับใช้ทา หรือจะใช้มือก็ได้
ภาพตัวอย่างเครื่องสาน
วิธีทาฟลิ้นโค้ทบนเครื่องสาน
เริ่มทางด้านในก่อนตามลำดับดังนี้
1. ใช้ฟลิ้นโค้ทผสมน้ำเล็กน้อยทาบาง ๆ ให้ทั่วเป็นชั้นแรก นำไป ผึ่งแดดให้พอหมาด
2. ใช้ฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทาจนทั่วเป็นชั้นที่สอง ผึ่งแดดแห้งพอหมาด แล้วจึงทาชั้นที่สามให้ทึบ
3. เอาผ้าฝ้ายตัดเป็นชิ้นในขนาดที่ทำสะดวก ชุบน้ำให้เปียกจนทั่ว บีบน้ำทิ้งแล้วชุบฟลิ้นโค้ท แล้วบุด้านในให้ชายผ้าทับกันให้เรียบร้อย ค่อย ๆ ทำไปทีละชิ้นจนแล้วเสร็จ ถ้าเป็นกระดาษสาไม่ต้องชุบน้ำ เมื่อบุดังนี้ เสร็จแล้วรีบทาทันทีเป็นชั้นที่สี่ แล้วตากให้แห้งพอหมาด ๆ
4. ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทับให้ทั่วเป็นชั้นสุดท้าย
ด้านนอก : ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ให้ทั่วสักสองชั้น โดยเว้นระยะผึ่ง แดดเหมือนด้านใน ทั้งสองด้านนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทุกอย่างแล้ว ให้ตากแดดทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็นำมาใส่น้ำได้ น้ำจะไม่มีพิษหรือกลิ่นที่เป็นอันตราย ดื่มหรือใช้ได้ตามความต้องการ
ข้อดีของที่เก็บน้ำแบบนี้คือ ราคาถูกเพราะสานได้เอง มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก ทนทานต่อแดดฝน กันปลวกมอดได้ดีกว่าเครื่องสานอื่น ๆ และ ซ่อมแซมง่ายเมื่อเกิดการรั่วซึม
ข้อควรระวัง
เมื่อฟลิ้นโค้ทเปื้อนเสื้อผ้า ต้องรีบขยำน้ำทันที ถ้าปล่อยให้แห้งต้อง ซักด้วยน้ำมันก๊าซ อย่าใช้ภาชนะนี้ใส่น้ำมัน เพราะฟลิ้นโค้ทแบบผสมน้ำนี้ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ฟลิ้นโค้ทที่เหลือใช้ควรเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด ถ้าเก็บดีจะนำมาใช้ได้อีก ไม้ไผ่ที่นำมาสานต้องมีอายุแก่พอเหมาะที่จะใช้ งานได้ดี เพื่อป้องกันมอด ฝีมือสานก็ต้องดีพอ และถ้าทำขนาดใหญ่ควร มีโครงแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อยังไม่แห้งสนิท อย่าให้ถูกน้ำหรือตากฝน
เพื่อนเกษตร 6(9), 2522
ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น